ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Economics
ปรัชญาและความสำคัญของหลักสูตร
การวิจัยและเรียนรู้บนฐานความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์ คือ การสร้างเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ก้าวหน้าอย่างสมดุลและยั่งยืน
เวลาเรียน
เรียนในเวลาราชการ
สถานที่เรียน
เรียนที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ตลอดหลักสูตร
คำอธิบายรายวิชา
ศฐ 617 คณิตเศรษฐศาสตร์ ไม่นับหน่วยกิต
ศึกษาเมทริกซ์ และกำหนดตัวแปรแต่ละประเภท ตัวก าหนดจาโกเบียน เฮชเชียน โบเดอร์เฮช
เชียน แนวคิดและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เชิงสถิติทฤษฎีพฤติกรรมของผู้บริโภค ทฤษฎีการผลิต ดุลยภาพ
ของรายได้ประชาชาติในตลาดสินค้าและตลาดเงิน การค้าระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ดุลยภาพสถิติเชิง
เปรียบเทียบ แบบจ าลองปัจจัยและผลผลิต และน าสมการเชิงอนุพันธ์และสมการผลต่างสืบเนื่อง มาอธิบาย
เศรษฐศาสตร์เชิงพลวัต โดยใช้คณิตศาสตร์
ศฐ 711 เศรษฐศาสตร์จุลภาคขั้นสูง 4(4-0-8)
ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค และการเลือกบริโภคข้ามเวลา พฤติกรรมผู้ผลิต ทฤษฎี
เกมส์ และการวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไป ทฤษฎีสวัสดิการสังคมและการอยู่ดีกินดีความล้มเหลวของตลาด
รวมถึง การเลือกที่เสียประโยชน์ และจรรยาบรรณวิบัติ การตัดสินใจภายใต้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์และทฤษฎี
สัญญา
ศฐ 712 เศรษฐศาสตร์มหภาคขั้นสูง 4(4-0-8)
ศึกษาแนวคิด และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคของส านักต่าง ๆ การวิเคราะห์ดุลยภาพทั่วไป
แบบจ าลองการจ าเริญทางเศรษฐกิจ การคาดคะเนอย่างมีเหตุผล ทฤษฎีวัฏจักรจริง การวิเคราะห์ด้วย
เศรษฐศาสตร์เคนส์เซียนและส านักอื่น ๆ ปัญหาเศรษฐกิจมหภาคระบบเศรษฐกิจแบบเปิด ผลของการ
คาดคะเนต่ออัตราแลกเปลี่ยน นโยบายการเงินการคลังในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด ทฤษฎีและนโยบายการจ้าง
งาน สังเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค ปัญหาการเงินระหว่างประเทศในกระแสโลกาภิวัตน์
ศฐ 713 เศรษฐมิติขั้นสูง 4(3-3-6)
ศึกษาวิธีการวิเคราะห์ การสร้าง และการประมาณค่าตัวแบบจ าลองทางเศรษฐมิติด้วยข้อมูล
อนุกรมเวลา การประมาณความสัมพันธ์ที่มีการทิ้งช่วงเวลา แบบจ าลองอนุกรมเวลา ข้อมูลแบบซ้ า
แบบจ าลองแก้ไขค่าความคลาดเคลื่อน แบบจ าลองส าหรับการประมาณการความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะ
ยาว แบบจ าลองระบบสมการเกี่ยวเนื่อง แบบจ าลอง vector autoregressive การวิเคราะห์ปัจจัยกระตุ้น
-17-
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560)
ผลตอบสนอง แบบจ าลองโคอินทีเกรชัน แบบจ าลองที่มีตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพ รวมถึงปัญหาในแต่
ละแบบจ าลองและแนวทางการแก้ไข โดยประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และการศึกษาเชิงประจักษ
ศฐ 771 วิธีวิทยาวิจัยทางเศรษฐศาสตร์และการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ 3(2-2-5)
ศึกษาหลักการ แนวทางการวิจัย กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ โครงสร้าง
และรูปแบบของการวิจัย การเลือกหัวข้อ การเขียนโครงร่างวิจัย การวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การ
ออกแบบการวิจัย วิธีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อท าการวิจัย การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิจัย ข้อมูลและการจัดการ
ข้อมูล การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนเตรียมความพร้อมการน าเสนอผลงานวิจัย
หมวดวิชาเลือก
ศฐ 821 เศรษฐศาสตร์สาธารณะ 3(3-0-6)
ทฤษฎีด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณะการวิเคราะห์การจัดการภาครัฐด้วยแนวคิดต้นทุน-ผลได้
ประสิทธิภาพและความเสมอภาคในเศรษฐกิจและสังคม เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยภาษีอากร เงินโอนและหนี้
สาธารณะ แนวคิดและข้อเสนอของสวัสดิการทางเศรษฐกิจและสังคมทฤษฎีว่าด้วยความมั่นคงทางสังคม และ
ภาวะที่เหมาะสมของสังคม การใช้นโยบายเพื่อสวัสดิการของสังคมหรือรัฐวิสาหกิจ
ศฐ 831 ทฤษฎี และนโยบายการค้าระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
ศึกษาทฤษฏีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ และกรณีศึกษาเชิงประจักษ์ วิเคราะห์นโยบายการค้า
ระหว่างประเทศ การรวมกลุ่มเศรษฐกิจ และการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศ ศึกษา
ความสัมพันธ์ของการค้าระหว่างประเทศกับการเจริญเติบโตและการพัฒนาเศรษฐกิจ
ศฐ 832 เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ 3(3-0-6)
ศึกษาแนวคิด แบบจ าลอง และทฤษฎีการเงินระหว่างประเทศ ระบบอัตราแลกเปลี่ยนและตลาด
ปริวรรตเงินตราต่างประเทศ ทฤษฎีอัตราแลกเปลี่ยน การปรับดุลการช าระเงินภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยน
แบบต่าง ๆ และนโยบายมหภาคภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด วิกฤตการณ์ทางการเงินของโลก และบทบาท
ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ศฐ 841 เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข 3(3-0-6)
ประยุกต์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การให้บริการทางด้าน
สาธารณสุข และการจัดสรรทรัพยากรทางด้านสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ อุปสงค์และอุปทาน ประสิทธิภาพ
และความเป็นธรรมทางสุขภาพ การปฏิรูประบบสุขภาพ รวมถึงนโยบายการสร้างหลักประกันทางด้านสุขภาพ
ศฐ 851 เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 3(3-0-6)
ศึกษาหลักการ แนวทางการวิจัย กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ โครงสร้าง
และรูปแบบของการวิจัย การเลือกหัวข้อ การเขียนโครงร่างวิจัย การวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การ
ออกแบบการวิจัย วิธีการพัฒนาเครื่องมือเพื่อท าการวิจัย การใช้คอมพิวเตอร์ในการวิจัย ข้อมูลและการจัดการ
ข้อมูล การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนเตรียมความพร้อมการน าเสนอผลงานวิจัย
ศฐ 852 เศรษฐศาสตร์การศึกษา 3(3-0-6)
ศึกษาบทบาทของการศึกษาที่มีต่อการพัฒนาก าลังคน อุปสงค์และอุปทานของการศึกษา การ
ลงทุนและผลตอบแทนของการศึกษา การประเมินค่าทุนมนุษย์ นโยบายและการวางแผนก าลังคนและ
การศึกษา บทบาทของรัฐและเอกชนในการจัดการศึกษา
ศฐ 861 หัวข้อส าคัญทางเศรษฐศาสตร์ขั้นสูง 3(2-2-5)
ศึกษากรณีศึกษาในประเด็นเศรษฐศาสตร์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ครอบคลุมการจัดการด้าน
ที่สนใจ โดยประยุกต์ร่วมกับสภาพแวดล้อมและสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งในระดับประเทศ หรือ
ระดับนานาชาติ ผ่านทางงานเขียนเชิงวิชาการหรือการรายงาน
ศฐ 862 การศึกษารายบุคคล 3(2-2-5)
ศึกษาหัวข้อที่นิสิตสนใจเป็นพิเศษ โดยมีวิธีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และน าเสนอเนื้อหาภายใต้
การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความสามารถตรงตามหัวข้อและเทคนิควิธีการวิเคราะห์ที่จ าเป็น
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ)
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต