การสอบเข้าศึกษาต่อ

หน้าแรก

หลักสูตร / ปริญญาตรี / การสอบเข้าศึกษาต่อ

ขั้นตอนการสมัคร

การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Thai University Central Admission System: TCAS) เปิดรับเข้าศึกษาจำนวน 5 รอบ

TCAS รอบที่ 1 ( การรับด้วย Portfolio โดยไม่สอบข้อเขียน)

TCAS รอบที่ 2 ( การรับแบบโควต้าที่มีการสอบข้อเขียนหรือข้อปฏิบัติ)

TCAS รอบที่ 3 ( การรับตรงร่วมกัน)

TCAS รอบที่ 4 ( การรับแบบ Admission)

TCAS รอบที่ 5 ( การรับตรงอิสระ)

รายละเอียดการเปิดรับสมัครได้ที่ https://admission.swu.ac.th/index.php

เอกสารประกอบการสมัคร

  • สำเนาใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • คะแนนสอบ GAT-PAT
  • แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

ผู้ต้องการเปลี่ยนคณะหรือมหาวิทยาลัย (เด็กซิ่ว)

สามารถยื่นคะแนน GAT-PAT ที่ใช้ยื่นสอบ TCAS รอบที่ 3  (การรับตรงร่วมกัน) หรือ รอบที่ 4

(การรับแบบ Admission) และรอบที่ 5  (การรับตรงอิสระ)

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเรียน

  • ควรเรียนจบสายวิทย์-คณิต หรือ ศิลป์-คำนวน
  • มีเกรดเฉลี่ยสะสมในชั้น ม.ปลาย ไม่น้อยกว่า 3 (สำหรับการสอบ TCAS รอบที่ 1)
  • มีทักษะทางคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และความรู้รอบตัวทั่วไป

ค่าเล่าเรียน

ภาคการศึกษาละ 20,000 (บาท) โดยมีค่าขึ้นทะเบียนนิสิต 1,700 บาท

แผนการเรียนปกติ

ภาคเรียนละ 20,000 บาท
เรียนจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 8.30 น. – 16.30 น.

โครงการพิเศษ

ภาคเรียนละ 30,000 บาท
เรียนจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 16.30 น. – 19.30 น.

และ วันเสาร์-อาทิตย์ 8.30 – 16.30 น.

จํานวนรับนิสิต

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต

แผนการเรียนปกติ

120

คน

โครงการพิเศษ

60

คน

คณะเศรษฐศาสตร์

Faculty of Economics มุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอนแบบ active learningเพื่อ พัฒนาบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาให้มี คุณภาพและคุณธรรมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้ทางทฤษฎี สามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศได้อย่างยั่งยืน และสามารถปรับตัวกับการ เปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่ เปิดกว้างเข้าสู่ระดับสากลอย่างมีประสิทธิภาพ

เรียนจบแล้วทำงานอะไร

อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย

พนักงานในสถานบันการเงิน

ผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการ StartUp

พนักงานรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของราชการ

ปริญญาตรี
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
ปริญญาตรี
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
(นานาชาติ)
ปริญญาโท
หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาเอก
หลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต